วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ชื่อ Blog http://sakarin88.blogspot.com/

ชื่อ-สกุล นายศักรินทร์ นารีน้อย รหัส 56011317845 สาขา LW

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวตประจำวัน รหัสวิชา 0026008 กลุ่มที่เรียน 3

6 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2556 

ย่างเข้าศักราชใหม่กันอีกครั้งกับปี 2556 หรือปีงูเล็กซึ่งเป็นอีกปีที่มีเรื่องให้น่าจับตามองหลายอย่าง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง อย่างในเมืองไทยโดยเฉพาะคนกรุงเทพก็ขอเริ่มต้นปีกันด้วยการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อันเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ แต่นั่นก็เป็นเรื่องของการเมืองครับ เข้าเว็บไซด์ MovaVista.com กันทั้งทีเรามาพูดถึงเรื่องเทคโนโลยีกันดีกว่า

ในปี 2556 หรือปี 2013 นั้นมีหลายๆ อย่างในโลกเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่มากมายให้เราได้ติดตามกัน ทั้งเรื่องของอนาคตแสนไกล และสิ่งที่เกิดขึ้นจริงแล้ว พร้อมให้เราได้สัมผัสแล้ว (แต่บางอย่างอาจจะมีมูลค่าสูงเกินเอื้อมสำหรับคนตาดำๆ อย่างเราไปสักหน่อย) มาวันนี้ ผมขอพูดถึงเทคโนโลยีที่น่าสนใจที่เราสามารถจับต้องได้แล้วทั้ง 6 อย่างแห่งปี 2556 กันครับ


เทคโนโลยีที่ 1
คอมพิวเตอร์จอสัมผัส ดั่งใจนึกด้วยปลายนิ้ว
เทคโนโลยีแรกที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือคอมพิวเตอร์หน้าจอสัมผัส กับการหวนคืนสู่การควบคุมบังคับที่ติดตัวมนุษยชาติมาตั้งแต่ยุคหิน นั่นก็คือการใช้นิ้วมือนั่นเอง หลังจากเราพึ่งพาคีย์บอร์ดกับเมาส์กลมๆ มาเป็นเวลานานแสนนาน ในปี 2013 นี้ก็เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของวงการคอมพิวเตอร์ ด้วยการหันมาควบคุมการทำงานจากนิ้วของเราโดยตรงสู่สิ่งที่ต้องการโดยใช้หน้าจอสัมผัสนั่นเอง

มอนิเตอร์จอสัมผัสขนาด 23 นิ้วจาก LG เปลี่ยนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเดิมๆ ให้สนุกกับการสัมผัสได้

เรื่องหน้าจอสัมผัสนั้นมีมานานมากแล้วในวงการคอมพิวเตอร์ แต่กลับไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากการใช้งานจริงๆ นั้นแทบจะไม่สอดคล้องเลย ลองจินตนาการถึงการใช้ Windows XP ผ่านหน้าจอสัมผัสแบบไร้เมาส์ดูสิครับ (ผมเคยลองมาแล้ว) อยากบอกว่าลำบากโคตร!อันเนื่องมากจากระบบการทำงานของเราไม่ได้เอื้อเฟื้อให้เทคโนโลยีที่มีราคาแพงมหาศาลในสมัยนั้นเลย แต่จอสัมผัสกลับได้รับความนิยมในกลุ่มโทรศัพท์มือถือมาเป็นเวลาหลายปีจนปัจจุบัน ตั้งแต่ฟีเจอร์โฟนบ้านๆ โทรเข้าโทรออกเล่นเกมได้นิดหน่อยมาจนถึงสมาร์ทโฟนราคาแพงระดับ 30,000 บาทขึ้นไปต่างก็ใช้หน้าจอสัมผัสกันทั้งนั้น ต้นตระกูลของสมาร์ทโฟนหน้าจอสัมผัสที่เราพอจะนึกกันได้นั้นก็คงหนีไม่พ้น Apple iPhone Classic รุ่นดึกดำบรรพ์ที่เพิ่งฉลองอายุครบ 6 ขวบไปเมื่อต้นปีนี้เอง แต่ถ้าถามว่าคอมพิวเตอร์หน้าจอสัมผัสที่พอจะนึกกันได้ไหนสมัยก่อนนั้นพอจะนึกได้ไหม นึกให้ตายยังไงก็นึกกันไม่ออกแน่ๆ

มาจนเดือนตุลาคมปี 2012 ที่ผ่านมา Microsoft และเหล่าพันธมิตรก็สั่นสะเทือนวงการคอมพิวเตอร์อีกระรอกด้วยระบบปฏิบัติการ Windows 8 ที่มาพร้อมกับความแปลกใหม่ด้วยการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้ใช้ด้วยระบบรองรับจอสัมผัสเต็มรูปแบบผ่านทาง Start Menu แบบใหม่ (ที่หลายคนแอบบ่น) ด้วยระบบปฏิบัติการที่รองรับการใช้นิ้วโดยสมบูรณ์นี่เอง เหล่าผู้ผลิตเลยจัดเต็มกับอุปกรณ์ของตนเอง ทั้งคอมพิวเตอร์ All-in-one, โน้ตบุ๊ก, อัลตร้าบุ๊ก ไปจนถึงอุปกรณ์แปลงร่างได้กลุ่มไฮบริดอย่างแท็บเล็ตกึ่งโน้ตบุ๊กเป็นต้น ประจวบเหมาะกับเทคโนโลยีการสัมผัสแบบ Capacitive ที่ถึงจุดอิ่มตัวในด้านราคา ทำให้คอมพิวเตอร์จอสัมผัสที่คลอดออกมาพร้อม Windows 8 นั้นมีราคาเริ่มต้นเพียง 21,000 กว่าบาทเท่านั้น! (Acer Aspire M5) คอมพิวเตอร์หน้าจอสัมผัสจึงกลายเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ผู้คนจับตามองมากที่สุดในปีนี้ และกลายเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

Sony VAIO Duo Tap 20 ลูกครึ่งแท็บเล็ตกับ All-in-one PC


เทคโนโลยีที่ 2
Windows 8 มารดาแห่งโลก PC-Plus
จากที่กล่าวไว้ในเรื่องคอมพิวเตอร์จอสัมผัสว่าเกิดขึ้นมาได้เพราะมีระบบปฏิบัติ Windows 8 ที่รองรับเทคโนโลยีโดยสมบูรณ์ไว้อยู่ (ไม่งั้นอาจจะยังไม่เห็นหน้าจอสัมผัสกันในปีนี้แน่) Windows 8 จึงเป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามองมากในปี 2013 นี้ว่าจะได้รับความนิยมขนาดไหน ล่าสุดนั้นมีการจำหน่าย Windows 8 ออกไปแล้วกว่า 60 ล้านชุดผ่านช่องทางต่างๆ มากมาย จนมีอัตราการเติบโตไวเป็นอันดับหนึ่งของระบบปฏิบัติการไปแล้วอย่างรวดเร็วจากราคาที่ถูกลงกว่าเดิมเกือบ 20% แถมมีโปรโมชั่นสนับสนุนผู้ใช้ Windows เก่ามากมายด้วยราคาเริ่มต้นเพียง 500 บาทก็เป็นเจ้าของ Windows 8 Pro ซึ่งเป็นรุ่นสูงสุดได้สำหรับผู้ซื้อ  Windows หรือคอมพิวเตอร์ลิขสิทธิ์ Windows ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2012 หรือจะขยับขึ้นมาเป็น 1,700 บาทสำหรับลูกค้าเก่าตั้งแต่ Windows XP หรือใครที่ไม่เคยใช้ Windows ลิขสิทธิ์ก็ซื้อได้ในราคาเริ่มต้นไม่ถึง 4,000 บาทสำหรับ Windows 8 และสูงสุดไม่ถึง 5,000 บาทสำหรับ Windows 8 Pro (เดิม Windows 7 Ultimate ขายถึง 7,000 กว่าบาท)

Start Menu ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้จอสัมผัสอย่างเต็มประสิทธิภาพ

แต่ราคาก็ไม่ใช่จุดน่าสนใจเพียงอย่างเดียวที่จะทำให้ Windows 8 เติบโต แต่หากเป็นเพราะ Windows 8 เป็นระบบปฏิบัติการที่ Microsoft ทุ่มเทออกแบบมาให้สมบูรณ์แบบไร้ที่ติมากที่สุด เพราะตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคมจนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีรายงานความผิดปกติหรือช่องโหว่ร้ายแรงจากระบบปฏิบัติการนี้เลย แถมยังเป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นมิตรกับทุกอุปกรณ์ อยู่ได้ตั้งแต่ CPU สมัยพระเจ้าเหามายัน CPU ในอนาคต ขอเพียงเป็นสถาปัตยกรรม X86 ก็พอ (แต่ถ้าใช้ ARM ก็ยังมี Windows RT ให้อีกต่างหาก) ไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊ก, อัลตร้าบุ๊ก, เน็ตบุ๊ก ยันแท็บเล็ตตามที่พันธมิตรผู้ผลิตจะผลิตออกมาได้ ด้วยความเป็นเอกภาพมากกว่าเก่านี้ทำให้ Windows 8 เป็นที่สนใจของผู้คนอย่างรวดเร็ว และหันมาใช้กันในที่สุดทั้งจากในคอมพิวเตอร์ประกอบเองหรือคอมพิวเตอร์แบรนด์ดัง และถือเป็นแม่ทัพหลักของยุคแห่งเทคโนโลยีที่ Microsoft พยายามสรรค์สร้างออกมาเป็นยุค PC-Plus ที่นิยามของคอมพิวเตอร์จะถูกเปลี่ยนเป็น “ทำงานได้หลายอย่าง ปรับเปลี่ยนได้หลายหน้าที่ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ” อยากให้เป็นโน้ตบุ๊กก็เป็นได้ อยากให้เป็นเท็บเล็ตก็เป็นได้ เป็นต้น

อยากให้ Windows 8 เป็นอะไรก็จัดไป

นอกจาก Windows 8 แล้ว Microsoft ยังเสริมกองทัพตอกย้ำว่าโลกแห่งอนาคตคือโลก PC-Plus ไม่ใช่ Post-PC ของ Apple (ยุคที่คอมพิวเตอร์จะถูกอุปกรณ์อื่นๆ อย่างสมาร์ทโฟน, สมาร์ททีวี, แท็บเล็ตเข้ามาแทนที่จนไม่เหลือความสำคัญ) ด้วยซอร์ฟแวร์ต่างๆ ที่ยกเครื่องใหม่รับ Windows 8 กันหมดไม่ว่าจะเป็น Office 2013, Skype, SkyDrive, Xbox Live และอื่นๆ อีกมากมายที่ยกขบวนกันมาให้ใช้กันแบบไม่ต้องไปมองหาโปรแกรมจากผู้พัฒนาอื่นเลย (รู้สึกว่าชักจะผูกติดเป็น One Stop Service เหมือน Apple เข้าไปทุกที)


เทคโนโลยีที่ 3
มาตรฐานความละเอียดใหม่ที่คมชัดกว่าเดิมด้วย 4K Ultra HD
ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เวลาเราจะซื้อหน้าจอแสดงผลสักตัวหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์หรือมอนิเตอร์นั้น สิ่งแรกๆ ที่เรามองหากันนั่นก็คือมีสัญลักษณ์ Full HD หรือไม่ กับความละเอียดที่เป็นมาตรฐานสูงสุดในตอนนั้นด้วยสัดส่วน 1,920 X 1,080p ที่จะแสดงภาพได้คมชัดทุกรายละเอียด แต่ในปี 2013 Full HD กำลังจะสละบัลลังก์มาตรฐานสูงสุดให้กับความละเอียดใหม่ในนาม Ultra HD หรือที่รู้จักกันสั้นๆ ว่า 4K กันแล้ว

ขนาดความละเอียดของ Ultra HD เมื่อเทียบกับความละเอียดมาตรฐานอื่นๆ ที่มา : wikipedia.org

Ultra HD (ขอเรียกชื่อนี้จะได้ติดปากกันนะครับ เพราะ 4K เป็นชื่อไม่เป็นทางการ) เป็นความละเอียดของจอแดงผลมาตรฐานใหม่ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 3,840 X 2,160 (8.3 ล้านพิกเซล) หรือจะกะง่ายๆ ก็คือการนำเอาหน้าจอ Full HD มาเรียงประกอบกัน 4 จอก็จะได้ความละเอียด Ultra HD ซึ่งเริ่มมีการผลิตเป็นโทรทัศน์ออกมาในช่วงปลายปี 2012 จากค่าย LG และ Sony ที่จำหน่ายกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เพียงจะมาเปิดตัวเป็นจริงเป็นจังครบทุกค่ายในปี 2013 จากงาน CES 2013 นี้เอง โดยการขยายความละเอียดออกไปในครั้งนี้ทำให้สามารถสร้างหน้าจอที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นระดับ 84 นิ้ว ถึง 110 นิ้วโดยที่ยังคงความละเอียดคมชัดสมจริง เพราะถ้าหากหน้าจอขนาดใหญ่แต่ยังใช้ Full HD อยู่จะมีผลทำให้ภาพคมชัดน้อยลงจากเม็ดพิกเซลแต่ใหญ่ขึ้นเพื่อรับหน้าจอนั่นเอง

Samsung Smart TV S9000 ขนาด 84 นิ้วความละเอียด Ultra HD ที่มา : www.itworld.co.kr

ด้วยมาตรฐานนี้ กล้องวิดีโอสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ความละเอียด Ultra HD จึงเปิดตัวออกมาอย่างรวดเร็วตามกัน รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ของเกาหลีใต้ KBS ก็เริ่มทดสอบการออกอากาศด้วยความละเอียด Ultra HD แล้ว (เมืองไทยยังอนาล็อกบ้านๆ อยู่เลยให้ตายสิ!) ใครฝันว่าจะได้เห็นสิวเสี้ยวของสาวๆ วง SNSD ก็คงจะได้เห็นกันในทีวีช่องนี้ล่ะครับ แต่ด้วยความเป็นเทคโนโลยีใหม่ และต้นทุนการผลิตสูง ทำให้ทีวีขนาด Ultra HD นั้นมีราคาเกินแสนทุกรุ่น!(เปิดตัวออกมาเป็นหน้าจอ 84 นิ้ว ส่วนหน้าจอ 55 นิ้วลงไปยังไม่มีการกล่าวถึงราคามากนัก) อาจจะต้องใช้เวลาอีกพัก 2-3 ปีกว่า Ultra HD จะเข้ามาแทน Full HD ได้อย่างสมบูรณ์

LG 3D Smart TV 84LM9600ขนาด 84 นิ้วที่วางจำหน่ายไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว 
เทคโนโลยีที่ 4
Windows Phone 8 น้องใหม่มาแรงแห่งวงการสมาร์ทโฟน
สำหรับ Windows Phone 8 นั้นเรียกว่าไม่พูดไม่ได้เลย กับระบบปฏิบัติการที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในขณะนี้ (ก็มันเกิดใหม่) และเป็นระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟนที่กู้ชีพให้ Nokia พ้นจากความฐานะ “ใกล้เจ๊ง” ซึ่งพี่แกเคยเดิมพันไว้ถึงขนาดถ้า Windows Phone 8 ไปไม่รอด ก็ขอขายบริษัททิ้งแล้ว แต่ Nokia ก็ไม่ต้องขายบริษัทจริงๆ เพราะล่าสุด Lumia ของเขาทำยอดขายได้ถึง 4.4 ล้านเครื่อง แถม Lumia 920 ยังแย่งกันซื้อแบบถล่มทลายโดยเฉพาะในประเทศจีน (ในไทยนี่ต้องจองกันข้ามปีเลยทีเดียว)

Artwork Windows Phone 8 หลายรุ่นจาก www.windowsphone.com

โดยผู้ผลิต Windows Phone 8 ในขณะนี้มีด้วยกัน 4 ค่ายคือ Nokia ที่เป็นหัวหอกหลัก ภายในเวลาเพียง 2 เดือนกว่าๆ ก็เข็น Lumia Windows Phone 8 ออกมาแล้ว 6รุ่น! ได้แก่ Lumia 920, Lumia 920s (ขายในจีน), Lumia 820, Lumia 822 (ขายในอเมริกา), Lumia 810 (ขายในอเมริกา) และ Lumia 620 ส่วนค่ายต่อมาก็เป็นค่ายสมาร์ทโฟนอาการร่อแร่อีกค่าย HTC ที่เข็นออกมา 2 รุ่นคือ Windows Phone 8X กับ 8S ส่วนอีกค่ายคือค่ายผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่รุ่งเรื่องที่สุดแห่งยุค Samsungโดยฉายเดียวรุ่นเดียวคือ ATIV Sและค่าสุดท้ายคือ Huawei มาพร้อมกับ Ascend W1

HTC Windows Phone 8X

ความน่าสนใจของ Windows Phone 8 นั้นอยู่ที่มันคือระบบปฏิบัติการเก่าที่ยกเครื่องใหม่หมดจาก Windows Phone 7 รองรับความเข้ากันกับโค้ตของ Windows 8 ทำให้ทั้ง 2 ระบบสื่อสารกันรู้เรื่องมากขึ้น มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ที่ไม่เหมือนใคร (และไม่มีใครเหมือน ขนาด iPhone กับ Android ยังมีหลายจุดที่คล้ายกัน) แถมพกความลื่นไหลรวดเร็วแบบที่ iPhone ยังแอบแพ้อยู่ด้วยบางจุด และแน่นอนครับ ใช้ง่าย ใส่เพลงง่าย ใส่ริงค์โทนง่าย ใส่รูปง่าย หยั่งกะใช้คอมพิวเตอร์ที่คุ้นเคย ไฟล์ไหนมันอ่านไม่ออกมันจับแปลงให้ด้วย! (สกุลเพลงแปลกๆ มันจับแปลเป็น WMA หมด) ใครว่า Android ง่ายแล้วมาเจอ Windows Phone 8 นั้นง่ายกว่าอีก

Nokia Lumia 620 หลากสีสันที่จะวางจำหน่ายในไทยเร็วๆ นี้

Windows Phone 8 จึงกลายเป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2013 ว่ามันจะสามารถสู้กับพลังของ Android กับ iPhone และเหล่าสาวกที่ออกแนวต่อต้านนิดๆ ได้หรือไม่ แต่สำหรับคนที่เบื่อสมาร์ทโฟนแบบเก่าๆ แล้ว นี่คือคำตอบของคุณครับ


เทคโนโลยีที่ 5
เมื่อสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตติดจรวด 2.3GHz / CPU 8-Core / GPU 72-Core
อีกเรื่องที่น่าจับตามองที่สุดในปี 2013 ในด้านของฮาร์ดแวร์นั้นกลับไม่ใช่ Intel Haswell CPU 4thGeneration ของ Intel แต่อย่างใด แต่กลับเป็น CPU ARM บนอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่นับวันจะยิ่งเหมือนคอมพิวเตอร์เข้าไปทุกที ล่าสุดในงาน CES 2013 นั้นผู้ผลิตชิพ ARM ทั้ง 3 ค่ายใหญ่อย่าง NIVDIA, Qualcommและ Samsung ต่างก็งัดไม้เด็ดของชิพรุ่นใหม่ที่จะวางจำหน่ายในปี 2013 มาอวดโฉมแบ่งประสิทธิภาพกันใหญ่

ผังการออกแบบของ NVIDIA Tegra 4 ที่มา : www.fonearena.com

เริ่มที่ NVIDIA ที่โวก่อนเปิดงาน CES 2013 เลยว่าชิพตัวใหม่ในนาม Tegra 4 นั้นแรงที่สุดในโลก แซงหน้า A6X ของ iPad 4th Generation ไปแบบขาดลอยด้วยแกนประมวลผลแบบ 4+1 Quad-core ประหยัดพลังงานสุดๆ แถมพก GPU มา 72-Core เลย รองรับการแสดงผลได้ในระดับ Ultra HD อีกด้วย พอวันต่อมา Qualcomm ก็ไม่ขอน้อยหน้าด้วยการเปิดตัว 4 พี่น้องตระกูล Snapdragon รุ่นใหม่ ได้แก่ Snapdragon 800 / 600 / 400 และ 200 โดยไม้เด็ดอยู่ที่พี่ใหญ่ Snapdragon 800 ที่พกแกนประมวลผลมา 4+1 Quad-core เช่นกัน แต่เร่งความเร็วออกมาถึง 2.3GHz!!! รองรับ Ultra HD ได้เหมือน Tegra 4 อีกด้วย

Qualcomm Snapdragon Series ที่มา : www.techindustriya.com

ส่วนวันที่ 3 ทาง Samsung ก็ขอเล่นของกับเขาบ้างด้วย Exynos 5 Octa ที่ไม่ได้เน้นความเร็ว แต่พี่ขอทำได้หลายอย่างพร้อมกันด้วยแกนประมวลผลที่ติดมาถึง 8-Core สร้างความฮือฮาในวงการได้ไม่น้อย แถมยังเป็นการประกาศศักดิ์ดาว่า CPU ARM พร้อมเข้ามาแทนที่คอมพิวเตอร์แล้ว และเตือนว่ายุค Post-PC นั้นเป็นไปได้มากกว่ายุค PC-Plusในขณะที่ CPU ฝั่งคอมพิวเตอร์ X86 ยังไม่สามารถรุกล้ำอธิปไตยของ ARM บนสมาร์ทโฟนได้จนกระทั่งการเปิดตัว Lenovo IdeaPhone สมาร์ทโฟนตัวแรกที่ยัด Intel Atom CPU X86 ลงไปได้เป็นรุ่นแรก จึงน่าจับตามองเป็นอย่างมากกว่าทั้ง Tegra 4, Snapdragon 800และ Exynos 5 จะมีประสิทธิภาพมากขนาดไหน และอุปกรณ์ตัวได้จะได้ใช้กันเป็นรายแรก

Samsung Exynos 5


เทคโนโลยีที่ 6
ยกทุกอย่างไว้บนอากาศ ให้ก้อนเมฆเป็นคลังข้อมูลของคุณกับระบบ Cloud
เมื่อช่วงกลางปี 2012 ผมได้เขียนเรื่องของ Cloud Computing หรือระบบการประมวลผลและเก็บข้อมูลผ่านเซิฟเวอร์ไร้ตัวตน (สำหรับเรา) กันไปแล้ว อันเป็นนิยามใหม่ของการใช้งานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แต่ทว่าความแพร่หลายนั้นก็ยังมีไม่มากนัก แต่ Cloud ก็ยิ่งน่าจับตามองมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี 2013 นี้

ทำไม Cloud ที่มีมานานจึงน่าจับตามองในปีนี้หรือครับ? นั่นก็เพราะว่าที่ผ่านมาในชีวิตจริงคุณได้ใช้ Cloud กันสักเท่าไหร่นอกจากการเก็บข้อมูลนิดๆ หน่อยๆ แต่ในปี 2013 Cloud จะมีบทบาทกับคุณมากขึ้นโดยเฉพาะกับคนที่ใช้ Windows 8, Windows Phone 8 นั่นก็เพราะ Microsoft บังคับให้ SkyDriveฝั่งอยู่ในเครื่องของคุณเลย นอกจากนี้โปรแกรมต่างๆ ก็รองรับการทำงานผ่าน Cloud มากขึ้นอย่าง Office 2013 และ Office 365 ที่เปลี่ยนการบันทึกข้อมูลเข้าระบบ Cloud เป็นหลัก หรือจะเป็นโปรแกรมบนหน้าเบราเซอร์ใหม่อย่าง Office Web App นั่นก็ประมวลผลผ่าน Cloud กลายเป็นว่า Cloud ยิ่งจะซึมซาบเข้าสู่พฤติกรรมการใช้งานของเรามากขึ้น จนถึงจุดที่เรารู้สึกได้ในปี 2013 นี้แล้ว

SkyDrive ที่เข้าถึงได้จากทุกอุปกรณ์ ทุกระบบปฏิบัติการ

นอกจากการเก็บข้อมูล Cloud ก็เริ่มมีบทบาทในวงการเกมมากขึ้น ระบบเกมสตรีมมิ่งหรือการเล่นเกมโดยให้เซิฟเวอร์ที่ไหนไม่รู้ประมวลผลให้แล้วส่งภาพมาให้เราเป็นฉากๆ แทนก็เริ่มเข้ามาในชีวิตเราในอีกเร็วๆ นี้ ซึ่ง Microsoft กลายเป็นหัวหอกหลักที่จะให้บริการผ่าน Xbox Live เป็นต้น ความน่าสนใจของ Cloud จึงกำลังถูกจับตามองมากที่สุดในปีนี้นี่เอง

นอกจากทั้ง 6 เทคโนโลยีนี้แล้ว ยังมีอะไรอีกมากที่เราต้องติดตามชมกันต่อไปในปีนี้ และผมเชื่อว่ายังมีนวัตกรรมใหม่ๆ อีกมากที่ยังคงเป็นความลับและรอการเปิดเผยอยู่ แต่สิ่งที่เราควรจะตระหนักไว้ก็คือการวิ่งไล่ตามเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดหย่อนนั้นอาจจะกลายเป็นภัยต่อตนเอง เพราะการจะได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ปัจจัยเดียวที่พวกเขาต้องการคือเงินจากกระเป๋าของคุณ ฉะนั้นติดตามเทคโนโลยีไว้อย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ต้องไปวิ่งไล่จับมันนะครับ พอใจในสิ่งที่เรามีดีที่สุด (อันนี้แหละทำยากที่สุดล่ะ กิเลสมักเหนือกว่าเสมอเวลาเจอของใหม่ๆ เจ๋งๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น